วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การวาดภาพ โดยใช้สีน้ำมัน OIL COLOUR

การวาดภาพ โดยใช้สีน้ำมัน  OIL  COLOUR


สีน้ำมัน ผลิตจากการผสมของสีฝุ่นกับน้ำมัน ซึ่งเป็นน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันลินสีด ( Linseed ) ซึ่งกลั่นมาจาก

ต้นแฟลกซ์  หรือน้ำมันจากเมล็ดป๊อบปี้        สีน้ำมันเป็นสีทึบแสง เวลาระบายมักใช้สีขาวผสมให้ได้น้ำหนักอ่อนแก่

งานวาดภาพสีน้ำมัน มักเขียนลงบนผ้าใบ  (Canvas )  มีความคงทนมากและกันน้ำ ศิลปินรู้จักใช้สีน้ำมันวาดภาพ

มาหลายร้อยปีแล้ว  การวาดภาพสีน้ำมัน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือ เป็นปีก็ได้ เนื่องจากสีน้ำมันแห้งช้ามาก ทำให้ไม่ต้องรีบ

ร้อน สามารถวาดภาพสีน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ ๆ และสามารถแก้ไขงาน ด้วยการเขียนทับงานเดิม  สีน้ำมันสำหรับเขียนภาพจะ

บรรจุในหลอด  ซึ่งมีราคาสูงต่ำขึ้นอยู่กับคุณภาพ  การใช้งานจะผสมด้วยน้ำมันลินสีด  ซึ่งจะทำให้เหนียวและเป็นมัน  

แต่ถ้าใช้ น้ำมันสน จะทำให้แห้งเร็วขึ้นและสีด้าน พู่กันที่ใช้ระบายสีน้ำมันเป็นพู่กันแบนที่มีขนแข็งๆ สีน้ำมัน เป็นสีที่ศิลปิน

ส่วนใหญ่นิยมใช้วาดภาพ มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองส์ยุคปลาย

ขอขอบคุณ
http://www.gotoknow.org/posts/459088

การวาดภาพ โดยใช้สีอะครีลิค ACRYLIC COLOUR

การวาดภาพ โดยใช้สีอะครีลิค  ACRYLIC  COLOUR


สีอะครีลิค  เป็นสีที่มีส่วนผสมของสารพลาสติกโพลีเมอร์ ( Polymer) จำพวก อะครีลิค ( Acrylic ) หรือ ไวนิล ( Vinyl )

 เป็นสีที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ล่าสุด วลาจะใช้นำมาผสมกับน้ำ  ใช้งานได้เหมือนกับสีน้ำ และสีน้ำมัน มีทั้งแบบโปร่งแสง

และทึบแสง แต่จะแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน 1 - 6 ชั่วโมง  เมื่อแห้งแล้วจะมี คุณสมบัติกันน้ำได้และเป็นสีที่ติดแน่นทนนาน

คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ ยึดเกาะติดผิวหน้าวัตถุได้ดี เมื่อระบายสีแล้วอาจใช้น้ำยาวานิช

( Vanish ) เคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกัน การขูดขีด เพื่อให้คงทนมากยิ่งขึ้น  สีอะครีลิคที่ใช้วาดภาพบรรจุในหลอด

มีราคาค่อนข้างแพง

ขอขอบคุณ
http://www.gotoknow.org/posts/459088

การวาดภาพ โดยใช้สีเทียน OIL PASTEL

การวาดภาพ โดยใช้สีเทียน   OIL PASTEL



สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน เป็นสีฝุ่นผงละเอียด ผสมกับไขมันสัตว์หรือขี้ผึ้ง แล้วนำมาอัดเป็นแท่ง มีลักษณะทึบแสง

สามารถเขียนทับกันได้  การใช้สีอ่อนทับสีเข้มจะมองเห็นพื้นสีเดิมอยู่บ้าง  การผสมสี อื่น ๆใช้การเขียนทับกัน สีเทียนน้ำมัน

มักไม่เกาะติดพื้น สามารถขูดสีออกได้ และกันน้ำ   ถ้าต้องการให้ สีติดแน่นทนนาน จะมีสารพ่นเคลือบผิวหน้าสี

สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน มักใช้เป็นสีฝึกหัดสำหรับเด็ก เนื่องจากใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน และมีราคาถูก
ขอขอบคุณ
http://www.gotoknow.org/posts/459088

การวาดภาพ โดยใช้ดินสอสี CRAYON

การวาดภาพ โดยใช้ดินสอสี  CRAYON


 ดินสอสี   เป็นสีผงละเอียด ผสมกับขี้ผึ้งหรือไขสัตว์  นำมาอัดให้เป็นแท่งอยู่ในลักษณะของดินสอ เพื่อให้เหมาะสำหรับ

เด็ก ๆ ใช้งาน มีลักษณะคล้ายกับสีชอล์ค แต่เป็นสีที่มีราคาถูก  เนื่องจากมีส่วนผสม อื่น ๆ ปะปนอยู่มาก มีเนื้อสีน้อยกว่า

ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถละลายน้ำ หรือน้ำมันได้  โดยเมื่อใช้ ดินสอสีระบายสีแล้วนำพู่กันจุ่มน้ำมาระบายต่อ

ทำให้มีลักษณะคล้ายกับภาพสีน้ำ ( Aquarelle ) บางชนิด สามารถละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งทำให้กันน้ำได้

ขอขอบคุณ
http://www.gotoknow.org/posts/459088

การวาดภาพ โดยใช้สีฝุ่น TEMPERA

การวาดภาพ โดยใช้สีฝุ่น  TEMPERA


สีฝุ่น เป็นสีเริ่มแรกของมนุษย์ ได้มาจากธรรมชาติ ดิน หิน แร่ธาตุ พืช  สัตว์ นำมาทำให้ละเอียด เป็นผง ผสมกาวและน้ำ

 กาวทำมาจากหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ สำหรับช่างจิตรกรรมไทยใช้  ยางมะขวิด หรือกาวกระถิน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้สีเกาะติดพื้น

ผิวหน้าวัตถุไม่หลุดได้โดยง่าย  ในยุโรปนิยมเขียนสีฝุ่น โดยผสมกับกาวยาง กาวน้ำ หรือไข่ขาว สีฝุ่นเป็นสีที่มีลักษณะ

ทึบแสง มีเนื้อสีค่อนข้างหนา  เขียนสีทับกันได้ สีฝุ่นมักใช้ในการเขียนภาพทั่วไป โดยเฉพาะภาพฝาผนัง ในสมัยหนึ่งนิยม

เขียนภาพผาฝนัง ที่เรียกว่า สีปูนเปียก (Fresco) โดยใช้สีฝุ่นเขียนในขณะที่ปูนที่ฉาบผนังยังไม่แห้งดี  เนื้อสีจะซึมเข้าไป

ในเนื้อปูนทำให้ภาพไม่หลุดลอกง่าย สีฝุ่นในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นผง เมื่อใช้งานนำมาผสมกับน้ำโดย ไม่ต้องผสมกาว

เนื่องจากในกระบวนการผลิตได้ทำการผสมมาแล้ว  การใช้งานหมือนกับสีโปสเตอร์

ขอขอบคุณ
http://www.gotoknow.org/posts/459088

การวาดภาพ โดยใช้สีชอล์ค PASTEL

การวาดภาพ โดยใช้สีชอล์ค  PASTEL


  สีชอล์ค  เป็นสีฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้ว ปัจจุบัน มีการผสมขี้ผึ้ง

หรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี  แต่มีเนื้อ ละเอียดกว่า  แท่งใหญ่กว่า และมีราคาแพงกว่า

มาก มักใช้ในการวาดภาพเหมือน

ขอขอบคุณ
http://www.gotoknow.org/posts/459088

การวาดภาพ โดยใช้ สีโปสเตอร์ POSTER COLOUR

การวาดภาพ โดยใช้ สีโปสเตอร์  POSTER  COLOUR


  สีโปสเตอร์  เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด  การใช้งานเหมือน กับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัว

ผสมให้เจือจาง  สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มี เนื้อเรียบได้  และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้

เหมือนกับสีน้ำมัน  หรือสีอะครีลิค สามารถ ระบายสีทับกันได้  มักใช้ในการวาดภาพ  ภาพประกอบเรื่อง ในงานออกแบบ

ต่าง ๆ  ได้สะดวก ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว

ขอขอบคุณ
http://www.gotoknow.org/posts/459088

เทคนิคการระบายสีน้ำ

เทคนิคการระบายสีน้ำ


สีน้ำ (Water Color) มีกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานหลายวิธี
แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะเทคนิคที่นิยม
ใช้ในการเรียนการสอนกันในโรงเรียนเท่านั้น ดังนี้ี้
1. การระบายแบบเปียกบนแห้ง(Wet into Dry)
เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำใน
สภาพที่สีผสมน้ำให้เหลวเปียกชุ่มนำไประบายลงในกระดาษที่แห้งคือ
ไม่ต้องระบายน้ำให้กระดาษเปียกเสียก่อน
หากระบายต่อเนื่องกันจะทำให้เกิดสภาพสีเรียบ
 เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการระบายรูปทรงเหลี่ยมทั้งหลาย
หรือวัตถุสิ่งของที่มีลักษณะพื้นผิวเรียบ เช่น พื้น หรือผนัง อาคารสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
2. การระบายแบบแห้งบนแห้ง(Dry on Dry)
 เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำในสภาพสีที่ข้นหนืดผสมน้ำน้อย
 ลงบนกระดาษที่แห้งไม่เปียกน้ำ เทคนิควิธีการนี้เหมาะสำหรับการระบายสีที่ต้องการแสดง
ให้เห็นถึงลักษณะผิวของวัตถุที่หยาบ ขรุขระ หรือแข็งกระด้าง
 เช่น ผิวของเปลือกไม้ ผิวของดิน หิน ผิงผนังต่างๆ
หรือนำไปใช้ในการเก็บรายละเอียกของภาพในขั้นตอนสุดท้าย
และยังแสดงถึงความรวดเร็วชำนาญในการใช้แปรงพู่กันของผู้วาดอีกด้วย
3. การระบายแบบเปียกบนเปียก (Wet into Wet)
เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำที่เหลวเปียกชุ่มลงบนกระดาษที่ลงน้ำให้เปียกชุ่มเตรียมไว้
 สภาพสีที่ได้จะไหลซึมรุกรานเข้าหากัน ให้ความรู้สึกว่าสีเปียกชุ่มน้ำอยู่ตลอดเวลา
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการระบายภาพของท้องฟ้า ผืืนน้ำ
ภูเขาและแนวต้นไม้หรือป่าในระยะไกล

4. การระบายแบบใช้เทคนิคต่างๆ (Texture Surface)เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำที่มีการเตรียมการพื้นผิวขอ
กระดาษด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนการระบายสี
และหลังการะบายสี เช่น การทากาว การหยดเทียนไข
เพื่อสร้างร่องรอยบนกระดาษก่อนระบายสีน้ำทับลงไป หรือการขูด ขีด
ด้วยของปลายแหลมหรือมีคม การโรยเกลือลงบนสีในขณะที่สียังไม่แห้ง การนำแอลกอฮอล์มาระบายลงบนสีที่ยังไม่แห้ง เป็นต้น

ขอขอบคุณ
http://chotima34816.blogspot.com/

เทคนิคการระบายสีน้ำ

เทคนิคการระบายสีน้ำ

การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมสีน้ำ มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจคุณสมบัติของสีน้ำ และต้องสามารถควบคุมได้ การลงมือทดลองจะเห็นธรรมชาติ และความเป็นไปของมัน การฝึกฝนจะทำให้รู้จังหวะและควบคุมได้ เทคนิคพื้นฐานการระบายสีน้ำ 5 ประการนี้ จะทำให้ผู้เริ่มต้นรู้จักสีน้ำอย่างถ่องแท้และสามารถนำไปสร้างสรรค์ภาพ จิตรกรรมสีน้ำที่สมบูรณ์ ได้อย่างแน่นอน
1. การระบายแบบเปียกบนเปียก (Wet ON Wet) คือสีเปียก (สีผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษเปียก (กระดาษที่ระบายน้ำหรือน้ำสีไว้แล้ว) วิธีการคือ ใช้พู่กันจุ่มสี (ค่อนข้างข้น) แตะแต้มบนกระดาษที่เปียกอยู่แล้วตามด้วยสีอื่น สีจะไหลซึม รุกรานเข้าหากันอย่างกลมกลืนและมีส่วนที่เกิดเป็นสีใหม่เพิ่มขึ้นมา  ถ้าทำบนกระดาษเปียกชุ่ม สีจะรุกรานกันรวดเร็วและนุ่มนวล เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายท้องฟ้า หรือน้ำทะเล ได้ถ้าทำบนกระดาษเปียก สีจะรุกรานไม่มากแต่ยังคงผสมผสานกลมกลืนกันดี เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายเป็นพวกวัตถุรูปทรงทั่วไปได้ถ้าทำบนกระดาษหมาด สีจะผสมผสานกลมกลืนกันน้อย เห็นการแยกสัดส่วนชัดเจนกว่า เทคนิคนี้นำไปใช้ สร้างพื้นผิวแสดงความแตกต่าง ไม่เรียบ
2. การระบายแบบเปียกบนแห้ง (Wet ON Dry)
เป็นลักษณะการระบายเรียบโดยใช้สี (ผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษแห้งมี 3 รูปแบบดังนี้
   - ระบายเรียบสีเดียว (Flat wash) โดยใช้พู่กันจุ่มสีระบายไปตามแนวนอนบนกระดาษที่เอียงเล็กน้อยให้น้ำสีไหลลง ไปกองข้างล่างแล้วระบายต่อเนื่องกันลงไปจนจบ การระบายครั้งต่อไปให้ต่อที่ใต้คราบน้ำที่ยังเปียกอยู่ ผลที่ได้คือสีจะใส เรียบสม่ำเสมอ ระวัง อย่านำพู่กันไปจุ่มน้ำ หรือเติมน้ำลงในสี ระหว่างทำงานเพราะจะทำให้สีที่ได้ไม่เรียบเกิดเป็นขั้นได้
   - ระบายเรียบหลายสี (Colour wash) ทำเหมือนกับระบายเรียบสีเดียวแต่เมื่อจบสีที่ 1 แล้วให้ระบายสีที่ 2 ต่อที่ใต้คราบน้ำขณะที่เปียกอยู่ ผลที่ได้คือ สีต่างๆ จะมีการผสมผสานกลมกลืนกันอย่างต่อเนื่อง หมายเหตุ ทั้งการระบายเรียบสีเดียว และ หลายสี เป็นพื้นฐานของงานสีน้ำที่นำไปใช้ระบาย ให้เกิดภาพแล้วแต่ว่าจะให้เป็นสีเดียว หรือหลายสี เช่น ภาพคนใส่เสื้อผ้า ก็ต้องเป็นระบายเรียบหลายสี
   - ระบายเรียบอ่อนแก่ (Grade wash) เป็นการระบายให้เกิดค่าน้ำหนักของสี จะเริ่มจากอ่อนไปหาแก่ หรือ จากแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ถ้าเริ่มจาก แก่ไปหาอ่อน ก็ผสมสีให้ข้นกว่าปกติ แล้วระบายเรียบได้ช่วงหนึ่งให้ล้างพู่กันจนสะอาดแล้วจุ่มน้ำมาระบายใต้คราบ น้ำเป็นระยะๆให้สีจางลงไปเรื่อยๆ ถ้าเริ่มจาก อ่อนไปหาแก่ ให้ผสมสีเจือจางแล้วระบายเรียบไปช่วงหนึ่ง ก็เพิ่มสีให้มีความเข้มข้นขึ้น แล้วระบายต่อใต้คราบน้ำลงมา เป็นระยะๆ ให้สีเข้มขึ้นการระบายเรียบอ่อนแก่ เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ระบายให้เกิด มิติ แสง-เงา
3. การระบายแบบแห้งบนแห้ง (DRY ON DRY) เป็นการระบายสีข้นๆบนกระดาษแห้งในลักษณะต่างๆเช่น แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการใช้ส่วนต่างๆของพู่กันคือปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่างๆ เทคนิคนี้นำไปใช้เน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ เช่น เมื่อเราทำภาพตัวบ้านเสร็จแล้วเราก็มาใส่ประตู หน้าต่าง ด้วยการใช้สีข้นๆ แตะ แต้ม ลงไปเราก็จะได้รายละเอียดของภาพแบบ DRY ON DRY
4. การระบายเคลือบ (Glazing)
เป็นการระบายทับซ้ำสีที่แห้งสนิท แล้วด้วยสีเดิมที่เข้มกว่า โดยสีที่ระบายเคลือบนี้ควรต้องเป็นสีโปร่งแสง ผลที่ได้คือ ส่วนที่ระบายเคลือบจะเป็นพื้นและส่วนที่เว้นไว้จะเป็นรูป ซึ่งรูปกับพื้นนี้จะมีความขัดแย้งหรือตัดกันเสมอ คือถ้าพื้นเข้มรูปต้องอ่อน ถ้าพื้นอ่อนรูปต้องเข้ม เทคนิคการระบายเคลือบนี้นำไปใช้ สร้างรูปทรง ผลักระยะให้ลึกตื้น  สร้างเงา ลดความจัดจ้านของสีบรรยากาศ 
5. การระบายขอบคมชัดและเรือนราง (Hard edge/Soft edge)
Hard edge เป็นการระบายให้เกิดการตัดกัน แบ่งขอบเขตระหว่างรูปกับพื้นหรือพื้นกับรูปอย่างชัดเจน หรือให้เกิดเป็นเหลี่ยมเป็นสัน วิธีการ คือระบายเป็นขอบตามที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีเขียนภาพทิวทัศน์ที่มีบ้านในสวน เราให้ส่วนที่เป็นหลังคาเว้นขาวไว้เพราะเป็นส่วนที่รับแสง ถัดจากหลังคาไปเป็นบรรยากาศก็ให้ใช้สีของบรรยากาศเพิ่มความเข้มระบายกดระยะ ลงไปเป็น Hard edgeเพื่อให้ตัวบ้านและบรรยากาศโดยรอบตัดกันเป็นขอบคมชัด แยกสัดส่วนกันเพื่อให้บ้านดูลอยเด่นขึ้นมา
Soft edge คือการเจือจางขอบเขตระหว่างพื้นกับรูปบางส่วนให้ดูกลมกลืนกัน วิธีการคือใช้น้ำมา soft ตรงเส้นขอบให้เกิดการเจือจาง เทคนิคนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการลดความขัดแย้งให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีระบายภาพคลื่นในทะเล บางจุดของคลื่นจะมีน้ำทะเลตัดกับฟองอย่างชัดเจน และบางจุดที่ต่อเนื่องจะมีความกลมกลืนกัน เพราะฟองคลายตัวลงหรืออาจเป็นส่วนที่รับแสง ตรงส่วนนี้ให้เราSoft edge โดยใช้น้ำมาSoft เพื่อละลายเส้นขอบแสดงความกลมกลืนได้
เทคนิคทั้ง 5 นี้มีความสำคัญที่คนสีน้ำต้องมี เมื่อเข้าใจถึงวิธีการ และประโยชน์การนำไปใช้แล้วจง หมั่นฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เพราะไม่เพียงสำคัญกับผู้เริ่มต้นเท่านั้น ถึงวันที่เป็นศิลปินระดับโลกแล้วก็ยังคงต้องใช้เทคนิคทั้ง 5 นี้

ขอขอบคุณ
http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/22560/

สอนวาดภาพเหมือน การร่างภาพใบหน้าคน

สอนวาดภาพเหมือน การร่างภาพใบหน้าคน


โครง ร่าง ภาพ หน้า คน มี 3ส่วน ครึ่ง
ส่วนที่1 จาก คาง ถึง จมูก
ส่วนที่2 จาก จมูก ถึง โหนกคิ้ว
ส่วนที่3 จาก โหนกคิ้ว ถึง ไรผม
ละส่วนสุดท้าย มีครึ่งส่วน
จาก ไรผม จน ถึง กระโหลก ศรีษะ ครับ
ขั้นตอนการ วาดก็ ให้เรา ร่างเส้นขึ้นมาก่อนครับ
1. ร่างเส้น ตรงแนวตั้ง
2. ขีดเส้น แนวนอน ตามระยะที่ผมบอกไปครับ
ให้เริ่ม จาก คาง ไป จนถึง กระโหลก ศรีษะ ส่วนบนสุดครับ
3. เมื่อได้ ทั้ง เส้นแนวนอน และ แนวตั้งแล้ว เราจึง เริ่มวาด จมูก ก่อนครับ
( เพราะว่าจมูก นั้น จะเป็น ตัวบอกตำแหน่ง ว่า ปากของแบบที่เรานำมาวาดนั้น ยื่นออกมา มากน้อยเพียงใดนั้นเองครับ  ) 
และยัง บอกเราได้อีกว่า  หน้าผาก ยื่นออกมา มากน้อย เพียงใด อีก เช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://kingart39.blogspot.com/2013/03/blog-post_31.html

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Basic Art


Basic Art



การจับดินสอ
มีการจับอยู่หลากหลายตามความถนัด
แต่ที่ผมอยากแนะนำให้ลองฝึกเพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการใช้งาน คงมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน
1. จับแบบเขียนหนังสือ
   - ใช้สำหรับการเก็บรายละเอียดของงานในพื้นที่เล็ก แคบ
   - วิธีการจับแบบนี้จะใช้ข้อนิ้วในการควบคุมดินสอ เหมือนการเขียนตัวอักษร
   - เป็นการใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบ หากใช้พื้นที่กว้างขึ้นก็เริ่มใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง
2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบายๆ
3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง
4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด

ได้โปรด กรุณาอย่าใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่งล๊อคดินสอ
พยายามจับให้ดินสอเป็นอิสระมากที่สุด
โดยนิ้วแค่เป็นตัวประคองดินสอไว้ให้เหมือนกับว่าดินสอนั้นเป็นส่วนหนึ่งใน
มือของเราที่จะบังคับให้ปลายดินสอนั้นไปทางไหนก็ได้ตามใจปรารถณา
เหมือนกับเวลาใช้นิ้วก้อยแคะขี้มูก
อีกนิดครับสำหรับการเหลาดินสอ EE อยากให้ใช้คัดเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย
เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด
และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก

ตอนนี้ผมจะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน
แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้

การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น



เริ่มฝึก


1. ลากเส้นตรงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง

2. ลากเส้น แนวเฉียงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง

3. ลากเส้นแนวนอน โดยจับให้ดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัส โดยให้ขนานไปแนวเดียวกับเส้นจะได้เส้นที่ตรง เพราะดินสอได้ถูกประคองไว้ไม่ให้กระดุกกระดิกด้วยนิ้วทั้งห้าของเราแล้ว

4. ตวัดปลายดินสอบนกระดาษด้วยเส้นโค้งสลับกับเส้นที่หมุนวน จนเข้าใจในน้ำหนัก เน้นหนัก เบา ให้ได้อารมณ์ของเส้นเหมือนสายน้ำที่กำลังเลื่อนไหล อย่างไม่หยุดนิ่ง
จากนั้นเราก็จะมาเริ่มฝึกการใช้จินตนาการในกรสร้างขนาดและสัดส่วนของภาพ
เพื่อการที่เราจะสามารถวาดภาพจากต้นแบบได้โดยเข้าใจสัดส่วนและการย่อหรือขยายในขนาดของภาพ

มองเป็นเส้น

ไม่ใช่เด็กเส้น แต่เป็นการฝึกการมองภาพข้างหน้าเราแล้วใส่เส้นเข้าไปในภาพนั้น ว่า...
ขนาดรูปร่างสั้นยาวแค่ไหน แบ่งครึ่ง แบ่งเป็นสามหรือสี่ส่วน
ซึ่งในการฝึกฝนแบบนี้ต้องใช้จินตนาการเป็นสำคัญ คือให้มองให้เห็นเส้นในอากาศที่เราสร้างขึ้นมาเอง
จากนั้นก็ทดลองลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ
กำหนดด้วยตัวเอง ลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ กำหนดด้วยตัวเอง


 


ทีนี้ก็เริ่มร่างวงกลม
ที่เราพยายามร่างมาตั้งแต่ครั้งแรก แต่คราวนี้เราจะเริ่มลงน้ำหนักวัตถุให้กลม โดยรู้จักค่าของแสง+เงา
ที่สำคัญคือต้องค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ
อย่าพยายามทำครั้งเดียวให้เข้ม พยายามกระจายน้ำหนัก ให้ชัดเจนขึ้น
จนกระทั่งเสร็จจากนั้นถึงทำการเน้นจุดที่เข้มที่สุดในภายหลัง

จากนั้นก็ฝึกๆๆๆๆ ฝึกจนชำนาญ
ก่อนที่เราจะออกไปตะลุย Drawing ทุกอย่างที่ขวางหน้าต่อไป.....

บทความนี้เริ่มต้นกันตั้งแต่ปี 2009
จนถึงตอนนี้ 2014 ผมนำภาพตัวอย่างสำหรับการลงน้ำหนัก แสงเงามาให้ชมครับ
สำหรับภาพอื่นใน blog ลองเข้าไปดูสังเกตุ เป็นตัวอย่างประกอบกันได้เลย










ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=alphafo&date=15-07-2009&group=3&gblog=1