Basic Art
การจับดินสอ
มีการจับอยู่หลากหลายตามความถนัด
แต่ที่ผมอยากแนะนำให้ลองฝึกเพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการใช้งาน คงมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน
1. จับแบบเขียนหนังสือ
- ใช้สำหรับการเก็บรายละเอียดของงานในพื้นที่เล็ก แคบ
- วิธีการจับแบบนี้จะใช้ข้อนิ้วในการควบคุมดินสอ เหมือนการเขียนตัวอักษร
- เป็นการใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบ หากใช้พื้นที่กว้างขึ้นก็เริ่มใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง
2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบายๆ
3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง
4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด
ได้โปรด กรุณาอย่าใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่งล๊อคดินสอ
พยายามจับให้ดินสอเป็นอิสระมากที่สุด
โดยนิ้วแค่เป็นตัวประคองดินสอไว้ให้เหมือนกับว่าดินสอนั้นเป็นส่วนหนึ่งใน
มือของเราที่จะบังคับให้ปลายดินสอนั้นไปทางไหนก็ได้ตามใจปรารถณา
เหมือนกับเวลาใช้นิ้วก้อยแคะขี้มูก
มีการจับอยู่หลากหลายตามความถนัด
แต่ที่ผมอยากแนะนำให้ลองฝึกเพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการใช้งาน คงมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน
1. จับแบบเขียนหนังสือ
- ใช้สำหรับการเก็บรายละเอียดของงานในพื้นที่เล็ก แคบ
- วิธีการจับแบบนี้จะใช้ข้อนิ้วในการควบคุมดินสอ เหมือนการเขียนตัวอักษร
- เป็นการใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบ หากใช้พื้นที่กว้างขึ้นก็เริ่มใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง
2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบายๆ
3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง
4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด
ได้โปรด กรุณาอย่าใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่งล๊อคดินสอ
พยายามจับให้ดินสอเป็นอิสระมากที่สุด
โดยนิ้วแค่เป็นตัวประคองดินสอไว้ให้เหมือนกับว่าดินสอนั้นเป็นส่วนหนึ่งใน
มือของเราที่จะบังคับให้ปลายดินสอนั้นไปทางไหนก็ได้ตามใจปรารถณา
เหมือนกับเวลาใช้นิ้วก้อยแคะขี้มูก
อีกนิดครับสำหรับการเหลาดินสอ EE อยากให้ใช้คัดเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย
เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด
และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก
ตอนนี้ผมจะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน
แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้
การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น
เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด
และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก
ตอนนี้ผมจะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน
แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้
การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น
เริ่มฝึก
1. ลากเส้นตรงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
2. ลากเส้น แนวเฉียงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
3.
ลากเส้นแนวนอน โดยจับให้ดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัส
โดยให้ขนานไปแนวเดียวกับเส้นจะได้เส้นที่ตรง
เพราะดินสอได้ถูกประคองไว้ไม่ให้กระดุกกระดิกด้วยนิ้วทั้งห้าของเราแล้ว
4.
ตวัดปลายดินสอบนกระดาษด้วยเส้นโค้งสลับกับเส้นที่หมุนวน จนเข้าใจในน้ำหนัก
เน้นหนัก เบา ให้ได้อารมณ์ของเส้นเหมือนสายน้ำที่กำลังเลื่อนไหล
อย่างไม่หยุดนิ่ง
จากนั้นเราก็จะมาเริ่มฝึกการใช้จินตนาการในกรสร้างขนาดและสัดส่วนของภาพ
เพื่อการที่เราจะสามารถวาดภาพจากต้นแบบได้โดยเข้าใจสัดส่วนและการย่อหรือขยายในขนาดของภาพมองเป็นเส้น
ไม่ใช่เด็กเส้น แต่เป็นการฝึกการมองภาพข้างหน้าเราแล้วใส่เส้นเข้าไปในภาพนั้น ว่า...
ขนาดรูปร่างสั้นยาวแค่ไหน แบ่งครึ่ง แบ่งเป็นสามหรือสี่ส่วน
ซึ่งในการฝึกฝนแบบนี้ต้องใช้จินตนาการเป็นสำคัญ คือให้มองให้เห็นเส้นในอากาศที่เราสร้างขึ้นมาเอง
จากนั้นก็ทดลองลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ
กำหนดด้วยตัวเอง ลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ กำหนดด้วยตัวเอง
ทีนี้ก็เริ่มร่างวงกลม
ที่เราพยายามร่างมาตั้งแต่ครั้งแรก แต่คราวนี้เราจะเริ่มลงน้ำหนักวัตถุให้กลม โดยรู้จักค่าของแสง+เงาที่สำคัญคือต้องค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ
อย่าพยายามทำครั้งเดียวให้เข้ม พยายามกระจายน้ำหนัก ให้ชัดเจนขึ้น
จนกระทั่งเสร็จจากนั้นถึงทำการเน้นจุดที่เข้มที่สุดในภายหลัง
จากนั้นก็ฝึกๆๆๆๆ ฝึกจนชำนาญ
ก่อนที่เราจะออกไปตะลุย Drawing ทุกอย่างที่ขวางหน้าต่อไป.....
บทความนี้เริ่มต้นกันตั้งแต่ปี 2009
จนถึงตอนนี้ 2014 ผมนำภาพตัวอย่างสำหรับการลงน้ำหนัก แสงเงามาให้ชมครับ
สำหรับภาพอื่นใน blog ลองเข้าไปดูสังเกตุ เป็นตัวอย่างประกอบกันได้เลย
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=alphafo&date=15-07-2009&group=3&gblog=1